top of page
ค้นหา

โรคกระดูกพรุนคืออะไร ?

  • tawanhotline
  • 1 ก.ค. 2566
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 3 ก.ค. 2566

โรคกระดูกพรุน (骨粗鬆症:こつ・そ・しょう・しょう)

โดยแพทย์หญิงอัญญพร สุทัศน์วรวุฒิ


Q: โรคกระดูกพรุนคืออะไร มีอาการอย่างไร ?

A: โรคกระดูกพรุนเกิดจากความแข็งแรงของกระดูกที่ลดลง จากอายุที่เพิ่มขึ้น และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ความแข็งแรงของกระดูกที่ลดลง ทาให้กระดูกหักง่ายขึ้นเมื่อมีการกระแทกหรือหกล้ม โรคกระดูกพรุนไม่มีอาการ แต่ถ้ามีกระดูกหักร่วมด้วยอาจมีอาการปวดได้ เช่น หากเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วมีภาวะกระดูกสันหลังยุบตัวตามมา อาจมีอาการปวดบริเวณหลังเรื้อรังได้


Q: ใครมีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน ?

A: ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนได้แก่ เพศหญิง อายุมาก ประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน เคยมีประวัติกระดูกหักมาก่อน การไม่ค่อยออกกาลังกาย ดื่มเหล้าสูบบุหรี่ หรือมีโรคประจาตัวบางอย่างที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนได้แก่ โรคที่ต้องกินยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ภาวะผิดปกติของฮอร์โมนเพศหรือพาราไทรอยด์ โรครูมาตอยด์ โรคไตวาย ภาวะการดูดซึมอาหารที่ผิดปกติ และภาวะขาดวิตามินดี เป็นต้น


Q: เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ ?

A: ทาได้หลายวิธี ส่วนใหญ่ใช้วิธีที่เรียกว่า การวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก (bone mineral density 骨密度ーこつみつど)ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจทางรังสีอย่างหนึ่ง

ในประเทศไทยแนะนาส่งตรวจในผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป หรือผู้หญิงที่ประจาดือนหมดก่อนอายุ 45 ปี หรือมีภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนต่า

ในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 65 ปี และผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 70 ปี หากมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นร่วมด้วย เช่นรับประทานยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน มีประวัติพ่อหรือแม่กระดูกสะโพกหักจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง รูปร่างผอมมาก มีส่วนสูงที่ลดลง เป็นต้น สามารถพิจารณาส่งตรวจได้โดยการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกวัดที่กระดูกไขสันหลัง และกระดูกสะโพกเป็นหลัก


Q: เราจะป้องกันโรคกระดูกพรุนได้หรือไม่

A: เราสามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ ด้วยการสะสมความแข็งแรงของกระดูกตั้งแต่ยังอายุน้อย

โดยมวลกระดูกจะมีความแข็งแรงที่สุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี

การสะสมความแข็งแรงของกระดูก

1. การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง โดยร่างกายต้องการแคลเซียมวันละ 1000 มิลลิกรัม

อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมสดหรือนมสดพร่องมันเนย นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม โยเกิร์ต ชีส

เต้าหู้เหลือง อัตสึอาเกะ งาดา ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้งหรือซากุระเอบิ ปลาชิชะโมะ ผักคะน้า ยอดแค ใบยอ

ถั่วแระ ผักโคมัตสึนะ หัวไชเท้าฝอยแห้ง

2. ได้รับวิตามินดีอย่างพอเพียง จากการโดนแสงแดดให้พอเพียง วันละ 15-20 นาที

ถ้าในฤดูหนาวที่มีแสงแดดน้อย ก็ควรรับประทานจากอาหารให้พอเพียง เช่นอาหารจา พวกปลา ได้แก่

ปลาแซลมอน ปลาบุริ ปลาชิราสุ ปลาซัมมะ หรือจากอาหารจา พวกเห็ด ได้แก่เห็ดหอม หรือเห็ดคิคุราเกะ

3. การออกกา ลังกายสม่า เสมอ ควรเป็นการออกกา ลังกายที่ลงน้า หนัก เช่น เดิน วิ่ง หรือเต้นรา

4. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือกินยาลูกกลอนที่อาจมีสารสเตียรอยด์

***************************************************************************

 
 
 

Comments


กลุ่มตะวัน -TAWAN-

©2023 Tawan -タワン-。Wix.com で作成されました。

bottom of page